ระวังอันตราย!!
จากการนอนที่ไม่มีประสิทธิภาพ
ถ้าพูดถึงเรื่องการนอนหลับ หลายคนเคยตั้งคำถามกับตัวเองหรือไม่ การนอนของเรานั้นเป็นอย่างไร?เราได้รับการพักผ่อนจากการนอนมากพอไหม จากเทรนด์การดูแลตัวเองในปี 2024 ที่ผู้คนต่างหันมาใส่ใจสุขภาพตัวเองมากขึ้น มักจะมีคำถามอยู่เสมอว่าพักผ่อนไม่เพียงพอทำยังไงดี?
นั่นแปลว่าคนให้ความสำคัญกับการนอนมาก เพราะเป็นสิ่งเดียวที่ช่วยให้ร่างกายได้ฟื้นฟู
ทุกวันนี้เรานอนได้เต็มที่หรือยัง?
การนอนของเรามีประสิทธิภาพมากพอหรือไม่ที่จะทำให้ร่างกายของเราได้รับการฟื้นฟู (Restorative Sleep) ที่ดีพอ ทำให้ตื่นมาพร้อมกับอารมณ์ที่แจ่มใสพร้อมกับสุขภาพที่แข็งแรง แต่น้อยคนนักมักจะสนใจในเรื่องนี้ ในวงจรชีวิตปกติแล้วเราเข้าใจว่าการที่เราตื่นนอนออกไปใช้ชีวิตทำกิจวัตรประจำวันโดยที่ไม่รู้สึกง่วงก็คือเรานอนเพียงพอแล้ว หรือแม้แต่บางคนนอนเยอะกว่าคนปกติแต่ก็ยังง่วงระหว่างวันอยู่ดี จนกลายเป็นเรื่องที่นำมาพูดคุยกันในหมู่เพื่อน ซึ่งในความเป็นจริงแล้ว การพักผ่อนที่เพียงพอไม่ใช่แค่เฉพาะการนอนให้ครบ 8 ชม. อย่างที่เข้าใจ ซึ่งการนอนจะถูกแยกออกเป็นหลายระดับมาก หากคุณพร้อมที่จะทำความเข้าใจในเรื่องของการนอน ก็ไปดูหัวข้อถัดไปได้เลย
การนอนแบ่งเป็นกี่ระดับ?
การนอนหลับใน 1 วงจร สามารถแบ่งได้เป็น 2 ระยะดังนี้
ระยะที่ 1 : ระยะการนอนหลบที่ไม่มีตากระตุก (Non-Rapid Eye Movement; NREM) โดยระยะนี้ก็จะถูกแบ่งเป็น 3 Stage ด้วยกันตามคลื่นไฟฟ้า
ในสมอง
- Stage ที่ 1(N1) เป็นระยะการนอนหลับที่เรียกว่า หลับตื้น (light sleep) สามารถปลุกได้ง่ายกว่าระยะอื่น ใช้เวลาประมาณ 5-20 นาทีหลังจากเริ่มหลับ
- Stage ที่ 2(N2) เป็นระยะหลับส่วนใหญ่ของการนอน เป็นระยะที่ปลุกได้ยากขึ้นกว่า Stage ที่ 1 อุณหภูมิของร่างกายและอัตราการเต้นของหัวใจเริ่มต่ำลง ใช้เวลาประมาณ 20-60 นาทีหลังจากเริ่มหลับ
- Stage ที่ 3(N3) เป็นระยะการหลับที่เรียกว่า (deep sleep) ระยะ N3 ถือว่ามีความสำคัญเพราะเชื่อว่าเป็นระยะที่มีการซ่อมแซมส่วนต่างๆของร่างกาย รวมทั้งบันทึกความจำและการเรียนรู้สิ่งต่างๆ
ระยะที่ 2 ระยะการนอนหลับที่มีตากระตุก (Rapid Eye Movement; REM) เป็นวงจรการหลับที่กล้ามเนื้อส่วนต่างๆมีการคลายตัวหยุดทำงานยกเว้นหัวใจ กระบังลม กล้ามเนื้อตา
นอกจากนี้ยังเป็นช่วงที่ร่างกายเกิดการฝัน และการกรอกตาที่เร็วกว่าปกติ ระยะนี้จะเพิ่มช่วงเวลามากขึ้นเมื่อใกล้ ตื่นการนอนหลับ REM เป็นช่วงที่มีการฟื้นฟูความคิด ความจําและการรับรู้ หากการนอนหลับระยะนี้เสียไป ส่งให้ร่างกายเกิดความสับสนได้
ระดับของการนอนส่งผลอย่างไรต่อร่างกาย?
ทุกช่วงระยะของการนอนนั้นมีความสำคัญที่ต่างกันออกไป แต่ในระยะ N3 และ REM นั้นจะมีความสำคัญต่อสุขภาพของเรามากที่สุด ซึ่งส่งผลต่อร่างกายของเราดังนี้
- สร้างฮอร์โมนต่างๆที่เกี่ยวกับระบบต่างๆที่สำคัญ Growth hormone, Adrenocorticotropic hormone, Prolactin, Melatonin, Norepinephrine
- มีการสร้างและสะสมพลังงานเพื่อใช้ในตอนตื่น ทำให้ไม่อ่อนล้าอ่อนเพลีย
- ร่างกายจะสังเคราะห์โปรตีนเพิ่มมากขึ้นและเกิดการเผาผลาญกรดไขมันให้เป็นพลังงาน
- เซลล์กระดูกและเม็ดเลือดแดงมีการแบ่งตัวเพิ่มขึ้นระหว่างการนอน
- เพิ่มกระบวนการเรียนรู้และความจํา การนอนหลับจะช่วยให้รื้อฟื้นความจํา ในช่วงการนอนของ REMได้มีการศึกษาต่างๆมากมายที่เกี่ยวกับ
ผลเสียจากการนอนที่ไม่มีคุณภาพ?
ถ้าอ่านมาถึงตรงนี้ก็คงจะเห็นแล้วว่าการที่เรานอนหลับอย่างมีประสิทธิภาพจะช่วยให้ร่างกายมีสุขภาพที่ดีเป็นอย่างมาก แล้วถ้าเกิดว่าเราไม่ได้รับการพักผ่อนที่เพียงพอจะเกิดอะไรขึ้น จากงานวิจัยสามารถสรุปผลเสียต่อร่างกายได้ดังนี้
- อาการเมื่อยล้า คลื่นไส้อาเจียน ท้องผูก ปวดศีรษะ วิงเวียนเหมือนบ้านหมุน (vertigo) ความทนต่อความเจ็บปวดลดลงกล้ามเนื้อคออ่อนแรง ความคิดและการรับรู้บกพร่อง (สุดประนอม สมันตเวคิน, 2546)
- เหนื่อยล้า เฉื่อยชาการพูดเสียไป ตัดสินใจได้ช้าและรู้สึกว่าตนเองมีการตอบสนองต่อการกระตุ้นจากสิ่งเร้าได้ง่าย (Honkus, 2003) ความทนต่อความเจ็บปวดลดลง (Dines-Kalinowski, 2002)
- การหายของแผลหลังผ่าตัดเป็นไปอย่างล่าช้า (Ersser et al., 1999)
- ร่างกายสูญเสียพลังงานจากการเผาผลาญชนิดแคทตาบอลิซึม (catabolism) มาก สัญญาณชีพเปลี่ยนแปลง ร่างกายใช้ออกซิเจนมากเกินกว่าที่จะผลิตได้ค่าความดันก๊าซในเลือดแดง (arterial blood gas) เปลี่ยนแปลง มีภาวะพร่องออกซิเจน
- การแปรปรวนการนอนหลับยังทําให้อุณหภูมิและภูมิต้านทานของร่างกายต่ำกว่าปกติโดยพบว่าการทํางานของเม็ดเลือดขาวและการหลั่งฮอร์โมนเพื่อช่วยในการเจริญเติบโตลดลง (Russo, 2002)
- ผลกระทบที่รุนแรงต่อร่างกายอาจทําให้เกิดอุบัติเหตุเพิ่มขึ้น (Lee,2003)
ผลเสียต่ออารมณ์และจิตใจ
- ผลกระทบด้านจิตใจและอารมณ์ทําให้มีการเปลี่ยนแปลงของอารมณ์ได้ง่ายอาจเซื่อง ซึมและหงุดหงิดโมโหง่าย (Thelan, Davie, & Urden, 1990)
- เกิดความสับสนและความสามารถใน การควบคุมตนเองจากสิ่งเร้าลดลง มีอาการหวาดระแวงและหูแว่วไม่สามารถยับยั้งพฤติกรรมความ ก้าวร้าวของตนเองได้ (Honkus, 2003)
- ผลกระทบต่อสติปัญญาและการรับรู้เมื่อนอนหลับไม่ เพียงพอทําให้การปฏิบัติกิจกรรมในช่วงกลางวันลดลง สมาธิไม่ดี (Closs, 1999) และแก้ไขปัญหา ได้ช้า (Lee, 2003)
ในสถานการณ์ปัจจุบัน ออนไลน์ทำให้คนส่วนใหญ่ติดต่อกันได้สะดวก และได้รับคำปรึกษาได้อย่างทันที หากท่านมีปัญหาผิว ปัญหาสุขภาพ สามารถติดต่อสอบถามหรือปรึกษา และรับคำแนะนำในการดูแลผิว พร้อมเคล็ดลับการเลือกใช้ผลิตภัณฑ์ที่ดีต่อสภาพผิวของคุณ อย่าลังเลที่จะปรึกษากับเรา เพราะเราพร้อมดูแลผิวของคุณเสมอ