เราทราบกันดีว่า "ฮอร์โมน (Hormone)" คือสารเคมีที่ผลิตโดยเซลล์ที่กระจัดกระจายในร่างกาย ฮอร์โมนมีบทบาทสำคัญในการควบคุมและปรับปรุงการทำงานของเซลล์หรืออวัยวะต่างๆ ในร่างกาย เช่น การควบคุมการเจริญเติบโต การควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด การควบคุมการทำงานของระบบภูมิคุ้มกัน การควบคุมการเผาผลาญพลังงานและอีกกลไกลอื่นๆ ที่สำคัญในร่างกาย แต่ในบทความนี้เราจะมาพาทำความรู้จักกับ "โกรทฮอร์โมน (Growth Hormone)" ว่าจะมีบทบาทสำคัญอย่างไนในร่างกาย
โกรทฮอร์โมน Growth Hormone (GH) เป็นฮอร์โมนที่มีบทบาทสำคัญในการสร้างเนื้อเยื่อและการเจริญเติบโตของร่างกาย โกรทฮอร์โมนถูกสร้างขึ้นโดยต่อมใต้สมองและจะถูกส่งไปยังกระแสเลือด โกรทฮอร์โมนจึงเป็นส่วนสำคัญในการทำงานของสมอง
เมื่อเราทำความเข้าใจเกี่ยวกับโกรทฮอร์โมนแล้ว จะเห็นว่าโกรทฮอร์โมนคือส่วนที่สำคัญที่ถูกผลิตโดยสมอง ดังนั้นโกรทฮอร์โมนจึงมีบทบาทสำคัญอย่างมากในร่างกาย คราวนี้เราจะลองมาดูหน้าที่ในด้านต่างๆของโกรทฮอร์โมนว่ามีอะไรบ้าง
ด้านการเจริญเติบโต : โกรทฮอร์โมนมีบทบาทสำคัญในการกระตุ้นการเจริญเติบโตของเนื้อเยื่อและกระดูก โดยเฉพาะในช่วงวัยเด็กและวัยรุ่น
ด้านการเพิ่มการสะสมของโปรตีน : โกรทฮอร์โมนส่งผลต่อกระบวนการสังเคราะห์โปรตีนในเซลล์, ทำให้เกิดการเพิ่มขึ้นของมวลกล้ามเนื้อ
ด้านการกระตุ้นการใช้ไขมันเป็นแหล่งพลังงาน : โกรทฮอร์โมนช่วยกระตุ้นกระบวนการลดไขมันโดยการเพิ่มการใช้ไขมันเป็นแหล่งพลังงาน
ด้านการกระตุ้นการสร้างกล้ามเนื้อ : โกรทฮอร์โมนมีผลต่อการสร้างกล้ามเนื้อในการออกกำลังกาย
ด้านการเพิ่มความแข็งแรงของกระดูก : โกรทฮอร์โมนส่งผลในการเพิ่มความหนาของกระดูก
ภาวะการขาดโกรทฮอร์โมน Growth Hormone Deficiency (GHD) เกิดเมื่อร่างกายไม่สร้างโกรทฮอร์โมนได้ในปริมาณที่เพียงพอหรือไม่สามารถใช้โกรทฮอร์โมนได้อย่างเหมาะสม ภาวะนี้มักเกิดในวัยเด็ก แต่มีกรณีที่เกิดในผู้ใหญ่ด้วย
สาเหตุของการขาดโกรทฮอร์โมนมีหลายปัจจัย ซึ่งสาเหตุที่เห็นชัดมากที่สุดจะมีดังนี้
ความผิดปกติของสมอง : การผลิตโกรทฮอร์โมนขึ้นจากต่อมใต้สมองมีปัจจัยหลายอย่างที่สามารถทำให้เกิดภาวะขาดได้ เช่น พบในกลุ่มผู้ที่มีภาวะสมองไม่พัฒนาเต็มที่หรือการเจริญเติบโตของต่อมใต้สมองไม่ปกติ
การบาดเจ็บหรือการทำผ่าตัดที่ส่งผลต่อต่อมสมอง บาดเจ็บหรือการทำผ่าตัดที่เกี่ยวข้องกับสมองสามารถทำให้เกิดขาดโกรทฮอร์โมน
ภาวะหยุดการเจริญเติบโต (Idiopathic Short Stature) : บางครั้งภาวะขาดโกรทฮอร์โมนไม่สามารถหาสาเหตุที่ชัดเจนได้ และถูกจัดว่าเป็นภาวะหยุดการเจริญเติบโต หรือ Idiopathic Short Stature
ภาวะหยุดการเจริญเติบโตช้า (Constitutional Growth Delay): บางครั้งภาวะขาดโกรทฮอร์โมนอาจเกิดจากการเจริญเติบโตที่ช้าลง แต่จะกลับไปทำงานได้เอง
การเพิ่มโกรทฮอร์โมน (Growth Hormone : GH) สามารถทำได้โดยวิธีต่างๆ ซึ่งจะถูกแนะนำโดยแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ เนื่องจากโกรทฮอร์โมนมีผลอย่างมากต่อร่างกายและผลิตจากต่อมใต้สมอง
ดังนั้นช่วงเวลาที่ดีที่สุดที่โกรทฮอร์โมนจะพุ่งสูงขึ้น คือ "ตอนที่เรานอนหลับ" นั่นเอง การพักผ่อนให้เพียงพอและเป็นเวลาจะช่วยเพิ่มโกรทฮอร์โมนได้ ซึ่งโกรทฮอร์โมนจะหลั่งมากที่สุด ใน 1 ชั่วโมงแรกที่หลับลึก ระหว่าง 5 ทุ่ม - ตี 3 แต่เรายังสามารถหาโกรทฮอร์โมนเพิ่มได้ด้วยวิธีอื่นๆ ดังต่อไปนี้
การให้โกรทฮอร์โมนเสริม (GH Replacement Therapy): วิธีที่สามารถใช้เพื่อเพิ่มโกรทฮอร์โมนในร่างกายคือการให้โกรทฮอร์โมนเสริม โดยมักจะอยู่ในอาหารเสริม วิธีนี้มักให้ผลลัพธ์ที่ดีในการเพิ่มความสูงและการเจริญเติบโตในเด็กหรือคนที่มีภาวะขาดโกรทฮอร์โมน
การปรับเปลี่ยนรูปแบบการทานอาหาร: การบริโภคโปรตีนมากๆและการควบคุมปริมาณไขมันในอาหารอาจมีผลที่บวกต่อการผลิตโกรทฮอร์โมน
การออกกำลังกาย: การออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอสามารถช่วยกระตุ้นการผลิตโกรทฮอร์โมนในร่างกาย
การนอนพักผ่อน: การนอนเพียงพอและคุณภาพการนอนที่ดีมีผลในการผลิตโกรทฮอร์โมน
การลดการสูบบุหรี่และการลดบริโภคแอลกอฮอล์: การสูบบุหรี่และการบริโภคแอลกอฮอล์มีผลกระทบต่อการผลิตโกรทฮอร์โมน
ในสถานการณ์ปัจจุบัน ออนไลน์ทำให้คนส่วนใหญ่ติดต่อกันได้สะดวก และได้รับคำปรึกษาได้อย่างทันที หากท่านมีปัญหาผิว ปัญหาสุขภาพ สามารถติดต่อสอบถามหรือปรึกษา และรับคำแนะนำในการดูแลผิว พร้อมเคล็ดลับการเลือกใช้ผลิตภัณฑ์ที่ดีต่อสภาพผิวของคุณ อย่าลังเลที่จะปรึกษากับเรา เพราะเราพร้อมดูแลผิวของคุณเสมอ